เมนู

ธรรม 10 ประการ


[174] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภัททาลิ เปรียบเหมือน
นายสารถีฝึกม้าคนขยัน ได้ม้าอาชาไนยตัวงามมาแล้ว ครั้งแรกทีเดียว ฝึกให้
รู้เหตุในการใส่บังเหียน เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุในการใส่บังเหียน ความ
ประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ทีเดียว
เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น มันจะสงบลงได้ใน
การพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ
ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้
เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ นายสารถีฝึกม้า จึงฝึกให้มันรู้เหตุ
ยิ่งขึ้นไป ในการเทียมแอก เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุในการเทียมเอก
ความพระพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ที
เดียว เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้ให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น มันจะสงบ
ลงได้ ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึก
ให้รู้โดยลำดับ ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ ในการพยศนั้น เพราะ
นายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ นายสารถีผู้ฝึกม้า
จึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป ในการก้าวย่าง1 ในการวิ่งเป็นวงกลม2 ในการ
จรดกีบ3 ในการวิ่ง ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง ในการฝึกไม่ให้ตื่นตกใจ
เพราะเสียงกึกก้องต่าง ๆ ในการเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้ ในวงศ์พญาม้า
ในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อน
หวานชั้นเยี่ยม เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุ ในการว่องไวชั้นเยี่ยม ในการ
เป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม ความประพฤติ

1. ในการยกและวางเท้าทั้ง 4 ครั้งเดียวกัน 2. ในการสามารถให้คนนั่งบนหลัง เก็บอาวุธที่
ตกภาคพื้นได้ 3. ในการประสงค์จะให้เดินเบา ไม่ให้ข้าศึกได้ยินเสียงฝีเท้า.

เป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการ ยังมีอยู่ทีเดียว เหมือน
ของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น มันย่อมสงบลงได้ในการ
พยศนั้น. เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ
ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้
เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ สารถีผู้ฝึกม้าย่อมเพิ่มให้ซึ่งเหตุ
เป็นที่ตั้งแห่งคุณและเหตุเป็นที่ตั้งแห่งพละยิ่งขึ้นไป ดูก่อนภัททาลิ ม้าอาชาไนย
ตัวงาม ประกอบด้วยองค์ 10 ประการนี้แล ย่อมเป็นพาหนะควรแก่พระราชา
เป็นพาหนะสำหรับใช้สอยของพระราชา นับได้ว่าเป็นองค์ของพระราชา ฉันใด
ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้
ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควร
อัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญยิ่งกว่า ธรรม 10 ประการเป็น
ไฉน ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ
ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควร
ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่
อัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบภัททาลิสูตรที่ 5

5. อรรถกถาภัททาลิสูตร


ภัททาลิสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่าง

ในบทเหล่านั้นบทว่า เอกาสนโภชนํ ได้แก่ ฉันอาหารในเวลาก่อน
ภัตหนเดียว ความว่าอาหารที่ควรฉัน. บทมีอาทิว่า อปฺปาพาธตํ ความเป็น
ผู้มีอาพาธน้อยกล่าวไว้พิสดารแล้วในกกโจปมสูตร. บทว่า น อุสฺสหามิ คือ
ไม่สามารถ. บทว่า สิยา กุกฺกุจฺจํ สิยา วิปฺปฏิสาโร พึงมีความรำคาญ พึง
มีความเดือดร้อน ความว่า เมื่อฉันอย่างนี้จะพึงมีความเดือดร้อนรำคาญแก่เรา
ว่า เราจักสามารถพระพฤติพรหมจรรย์ได้ตลอดชีวิตหรือไม่หนอ. บทว่า
เอกเทสํ ภุญฺชิตฺวา พึงฉันส่วนหนึ่ง ความว่า ได้ยินว่าพระเถระแต่ก่อนเมื่อ
ทายกใส่อาหารลงในบาตรแล้วถวายเนยใส ฉันเนยใสร้อนหน่อยหนึ่งแล้ว
ล้างมือนำส่วนที่เหลือไปภายนอก นั่งฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พระศาสดา
ตรัสหมายถึงอย่างนั้น. แต่ท่านพระภัททาลิคิดว่า หากภิกษุฉันอาหารที่ทายก
ถวายเต็มบาตรคราวเดียวแล้วลา้งบาตรนำอาหารที่ได้เต็มด้วยข้าวสุกไปในภาย
นอกแล้วพึงฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พึงควรอย่างนี้. นอกไปจากนี้ใคร
เล่าจะสามารถ. เพราะฉะนั้นท่านพระภัททาลิจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ไม่สามารถฉันอาหารแม้อย่างนี้ได้.
ได้ยินว่า ในอดีตท่านพระภัททาลินี้เกิดในกำเนิดกา ในชาติเป็นลำดับ
มา. ธรรมดา กาทั้งหลายเป็นสัตว์ที่หิวบ่อย. เพราะฉะนั้นพระเถระจึงชื่อว่า
เป็นผู้หิว. ก็เมื่อพระเถระนั้นโอดครวญอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงข่มทับถม
พระเถระนั้นแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุใดพึงเคี้ยวก็ดี พึงบริโภคก็ดี ซึ่ง